เทคนิคการจัดทำผลสำรวจสาธารณะผ่านรูปแบบภาพ (อินโฟกราฟิค)

จากที่ผ่านมาสวนดุสิตโพล จะทำการส่งผลสำรวจให้กับสื่อมวลชนผ่านรูปแบบของตารางสรุปผลการสำรวจผ่านทางเครื่องรับ – ส่งโทรสาร (fax) และทาง E-mail ของสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ  ซึ่งปัจจุบันพบว่า การนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร โดยส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคการนำเสนอภาพและแผนภูมิ   มาใช้ประกอบในการนำเสนอ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และสามารถทำความเข้าใจได้มากขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2559  ทางสวนดุสิตโพล จึงได้เริ่มนำเสนอผลการสำรวจผ่านรูปแบบของแผนภูมิลงในสื่อโซเชียลมิเดียของสวนดุสิตโพล และในปี พ.ศ. 2560 จึงเริ่มส่งผลการสำรวจผ่านรูปแบบภาพ (อินโฟกราฟฟิค) ให้กับสื่อมวลชน คู่มือปฏิบัติงาน (Work Manual) รายละเอียด Info-Graphic

webadmin

22/02/2018

แผนการจัดการความรู้ “กระบวนการจัดการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ของสวนดุสิตโพล”

สวนดุสิตโพลมีการจัดคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ที่แสดงถึงรายละเอียดขั้นตอนการจัดการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ของหน่วยงาน และสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานที่มุ่งไปสู่การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลงานที่ได้มาตรฐานเป็นไปตามเป้าหมาย ได้ผลิตผลหรือการบริการที่มีคุณภาพ และบรรลุข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการ

webadmin

22/02/2018

แผนการจัดการความรู้

สวนดุสิตโพล มีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานหันมาใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Paperless) แทนการใช้กระดาษอย่างถาวร ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการจัดการประชุม สัมมนาต่างๆ ไว้ในเครื่องแม่ข่าย (Server) ที่เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตส่งผ่านเครือข่ายภายในและภายนอกหน่วยงานสวนดุสิตโพล ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ ของผู้รับปลายทาง แทนการส่งข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของเอกสารที่เป็นกระดาษ

webadmin

12/04/2017

เลือกตั้งสหรัฐอเมริกา 2559

คุณสมบัติของผู้สมัครประธานาธิบดี  รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า ต้องอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับสัญชาติอเมริกันโดยกำเนิด อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกามาไม่น้อยกว่า 14 ปี ไม่เคยเป็นประธานาธิบดีมาแล้ว 2 สมัย ขั้นตอนการหยั่งเสียง ปัจจุบันมี 3 วิธี คือ 1.อาจได้จากวิธีการแบบ primary ซึ่งหมายถึง การจัดการเลือกตั้งขั้นต้นขึ้นในมลรัฐ 2.แบบ caucus คือ การประชุมกลุ่มย่อยของสมาชิกพรรคในแต่ละระดับ ตั้งแต่หน่วยเล็กสุดขึ้นมา เพื่อเสนอความคิดเห็น 3.แบบ state-covention ที่หมายถึง การประชุมใหญ่ของพรรคในระดับมลรัฐ เพื่อคัดเลือกผู้ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดเป็นตัวแทนพรรค จาก 1 ใน 3 วิธีข้างต้น จะทำให้ได้ผู้แทน หรือที่เรียกว่า delegates จำนวนหนึ่ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค (National Convention) ให้เหลือตัวแทนพรรคเพียงคนเดียว ถ้าสามารถเลือกผู้แข่งขันได้ในครั้งแรกของการประชุมพรรค จะเรียกว่า first ballot victory การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง  ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ “วันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายนของปีที่มีการเลือกตั้ง” (ไม่ใช่อังคารแรกหรืออังคารที่ 1 […]

webadmin

29/07/2016

โพลเลือกตั้ง

โพลเลือกตั้ง (Election Poll) เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี ค.ศ. 1824 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยหนังสือพิมพ์ฮาริสเบอร์ก แพซิวาเนียน (Harrisburg Pennsylvanian) ในสมัยที่ Andrew Jackson ลงสมัครแข่งขันเลือกตั้งประธานาธิบดี โพลครั้งนั้นเป็นเพียงการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความนิยมของผู้ลงสมัครอย่างไม่เป็นทางการ (Straw Poll) โดยผลการสำรวจระบุว่า Andrew Jackson มีคะแนนนำ John Quincy Adams อยู่ 365 ต่อ 169 แต่ในปี ค.ศ. 1824 John Quincy Adams ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี (แต่งตั้ง มีนาคม ค.ศ. 1825) ส่วน Andrew Jackson ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในสมัยถัดไป (ปี ค.ศ. 1828) แต่หลังจากนั้น วิธีการสำรวจความคิดเห็นเริ่มโด่งดังขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการนำไปประยุกต์กับการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นต่อเหตุการณ์สำคัญหรือโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ …. ในปี […]

webadmin

20/06/2016
1 2