ประวัติความเป็นมาของสวนดุสิตโพล

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534

            โลกอยู่ใน “ยุคสารนิเทศ” (Information Age) ทำให้ทุกคนจำเป็นต้องใช้ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ฯลฯ เพื่อประกอบการตัดสินใจในทุก ๆ เรื่อง จากการที่โลกในยุคปัจจุบันปริมาณข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล จนอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “Information  Explosion” ทำให้ไม่สามารถที่จะบริโภค ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ได้ทุกเรื่อง จึงได้เกิด  “วิชาสารนิเทศศาสตร์” (Information Science) เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนสามารถจัดการกับข่าวสารข้อมูลความรู้ได้อย่างเป็นระบบ ผู้ที่ได้รับการฝึกนั้นก็คือ “นักสารนิเทศ” ที่จะให้บริการแก่คนทั่วไปได้ใช้ ติดตามข่าวสาร ข้อมูลความ รู้อย่างชาญฉลาด สถาบันราชภัฏสวนดุสิต จึงได้เปิดสอนวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ระดับปริญญาตรี (ศศ.บ.) ในปี พ.ศ. 2534 เพื่อผลิต “นักสารนิเทศ” ออกไปรับใช้สังคม

 พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2537

พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2547

            สวนดุสิตโพลเริ่มมีการรับงานจากหน่วยงานภายนอกทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรเรียกว่า โพลธุรกิจ ในช่วงแรกสวนดุสิตโพลจะทำหน้าที่ออกแบบสอบถาม และลงเก็บข้อมูลภาคสนาม  นำข้อมูลที่ได้จากภาคสนามส่งให้กับบริษัท PROCESS LINES ประมวลผล ต่อมามีการเพิ่มเจ้าหน้าที่ประจำ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ประมวลผล เจ้าหน้าที่สำนักงาน และเจ้าหน้าที่ภาคสนาม เพื่อขับเคลื่อนการทำโพลสาธารณะ และโพลธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ
การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยทำนายว่า นายพิจิตร รัตตกุล จะได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 12 (พ.ศ. 2539)
            สวนดุสิตโพล ร่วมกับ TRIS Corporation Limited ดำเนินโครงการติดตามและประเมินผลโครงการเสริมสร้างการแก้ไขปัญหาคนจนในเมืองในภาวะวิกฤตภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจปีงบประมาณ 2542
            การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยทำนายว่า นายสมัคร สุนทรเวช จะได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 13  ผลสำรวจครั้งนี้สามารถทำนายผลได้อย่างแม่นยำ (พ.ศ. 2543)
            สวนดุสิตโพลได้รับเชิญไปศึกษาดูงานด้านระบบบริหารการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีและศึกษาดูงานองค์การบริหารระดับสูงของประเทศสหรัฐอเมริกา  ตามโครงการแลกเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง (Professional Exchange Program) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งได้ศึกษาดูงานการทำโพลของสหรัฐอเมริกา  ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และศึกษาดูงาน Exit Poll  ณ มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน (พ.ศ. 2543)
            การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งผล Exit poll ครั้งนี้เป็นไปด้วยความถูกต้องแม่นยำ โดย พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 23 ( พ.ศ. 2544) 
            สวนดุสิตโพลได้รับมอบหมายจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ดำเนินโครงการสำรวจกำลังแรงงานในเขตเมืองของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (พ.ศ. 2544)
            สวนดุสิตโพลได้รับเชิญจากแกลลอปโพล (Gallup Poll) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 55 (พ.ศ. 2547)
            การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยทำนายว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 14 (พ.ศ. 2547)

พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2553

            เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มีการจัดโครงสร้างการดำเนินงาน และฝ่ายต่างๆเพื่อรับผิดชอบการดำเนินงาน โดย รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นประธานที่ปรึกษา สวนดุสิตโพล และ รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ เป็นประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล มีบุคลากรเพิ่มมากขึ้นและได้มีการทำโครงสร้างการดำเนินงานสวนดุสิตโพล ประกอบด้วยกลุ่มงานเลขานุการ กลุ่มงานนโยบายและแผน กลุ่มงานประชาสัมพันธ์และสารสนเทศ กลุ่มงานโพลสาธารณะ กลุ่มงานโพลธุรกิจ กลุ่มงานวิจัย กลุ่มงานภาคสนาม กลุ่มงานวิเคราะห์ข้อมูล และกลุ่มงานประมวลผล
            การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยผล Exit pollทำนายได้แม่นยำว่า พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 23 (สมัยที่ 2) (พ.ศ. 2548) 
การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยทำนายได้อย่างแม่นยำว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน จะได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 14 (สมัยที่ 2) (พ.ศ. 2551)
สวนดุสิตโพลได้เดินทางไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้ไปสำรวจบรรยากาศการเลือกตั้ง ณ มหานครนิวยอร์ก เมืองแอตแลนติค ซิตี้  เมืองฟิลาเดลเฟียและกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และได้สังเกตการณ์การเลือกตั้งจริง บริเวณคูหาการเลือกตั้งที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นอกจากนี้ (พ.ศ. 2551)
            สวนดุสิตโพลได้เข้าพบผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมิชิแกน โดยได้รับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดี (พ.ศ. 2551)
            สวนดุสิตโพล ศึกษาดูงาน ณ บาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2551)
            การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยทำนายว่า  หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จะได้รับเลือกเป็น   ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 15  ซึ่งผลก็ถูกต้องอีกครั้ง (พ.ศ. 2552)สวนดุสิตโพลจัดทำพ็อกเก็ตบุ๊คเรื่อง ปอกเปลือกประเทศไทย เรื่อง “สวนดุสิตโพล : ชี้เป็นชี้ตายหรือ    คำทำนายอนาคต” และเรื่อง “มองเมืองไทย” ผ่าน “สวนดุสิตโพล” (พ.ศ. 2553)

พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2555

            สวนดุสิตโพล เริ่มการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ (On line) ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2554 ในโครงการความร่วมมือระหว่างสวนดุสิตโพลกับนิตยสารทีวีพูล ในการฉลองครบรอบ 22 ปี นิตยสารทีวีพูล โดยการสร้างแบบสอบถามออนไลน์บนเว็บไซต์ Google  (Google Forms)  และปี พ.ศ. 2555 การดำเนินโครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลี่ยมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน สวนดุสิตโพลต้องเก็บรวมข้อมูลจากร้านค้าหาบเร่แผงลอยทั่วประเทศ และต้องบันทึกข้อมูลให้ได้เร็วที่สุด จึงได้ร่วมมือกับสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สร้างโปรแกรมการบันทึกข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เก็บข้อมูลผ่าน Smart Phone หรือ Tablet  ได้ทันที หรือบันทึกข้อมูลจากแบบสอบถามลงระบบ ต่อมาได้มีแนวทางในการพัฒนาการสร้างแบบสอบถามออนไลน์แบบง่ายผ่านผู้ให้บริการโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งแบบที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้แก่ Google Form และ Office 365 Forms และแบบมีค่าใช้จ่าย ได้แก่ Monkey Survey และ Survey Can เป็นต้น
            การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยนางสาวยิ่งลักษณ์   ชินวัตร ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย คนที่ 28 (พ.ศ. 2554)
            สวนดุสิตโพลศึกษาดูงาน ณ สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) (พ.ศ. 2554)

            มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจาก  รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน เป็น ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ  และในส่วนของสวนดุสิตโพลได้มีการปรับเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาสวนดุสิตโพลจาก รศ.ดร. ศิโรจน์ ผลพันธิน เป็น รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ และประธานดำเนินงาน สวนดุสิตโพลจาก รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ เป็น นายณัฐพล แย้มฉิม และแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาสวนดุสิตโพล รวมไปถึงการปรับโครงสร้างการทำงานของสวนดุสิตโพล เพื่อให้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วทันต่อสถานการณ์และคู่แข่งทางการตลาดที่มีจำนวนมากขึ้น โดยมีโครงสร้างการทำงาน ประกอบด้วย ฝ่ายสำนักงาน ฝ่ายโพลสาธารณะ ฝ่ายโพลธุรกิจ  ฝ่ายวิจัยและพัฒนา และฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ นอกจากนั้นยังบริการข้อมูลข่าวสารผ่านเครือข่ายสารสนเทศบนเว็บไซต์ คือ  www.dusitpoll.dusit.ac.th และ www.facebook.com/suandusitpoll
            สวนดุสิตโพล ได้มีส่วนร่วมในโครงการจัดเวทีเสวนาหาทางออกประเทศไทย (พูดจาหาทางออกประเทศไทย) โครงการการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กรณีโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย (พ.ศ. 2556) 
เป็นที่ปรึกษาโครงการจัดทำฐานข้อมูลร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร และครัวเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้  เพื่อรองรับการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) (ระยะที่ 1) และโครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน (ระยะที่ 2) (พ.ศ. 2556)  สวนดุสิตโพลได้มีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ ต่อเนื่องจาก   ปี 2556 เช่น โครงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กรณีโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย และโครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)  ภาคครัวเรือน ปี 2557 (ระยะที่ 3)
            ศึกษาดูงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงานของสวนดุสิตโพล (ศึกษาดูงาน ณ สาธารณรัฐอิตาลี สมาพันธรัฐสวิส สาธารณรัฐฝรั่งเศส) (พ.ศ. 2557)

พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2559

            มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีสถานะมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สวนดุสิตโพลได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการทำงานให้มีความคล่องตัว โดยนายณัฐพล แย้มฉิม ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพลปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง โดยแบ่งโครงสร้างงาน ประกอบด้วย ฝ่ายสำนักงาน ฝ่ายบริการวิชาการ ฝ่ายธุรกิจวิชาการ และฝ่ายประมวลผล
            โครงการสร้างความร่วมมือสำนักโพลในกลุ่มประเทศอาเซียนของสวนดุสิตโพล ณ ประเทศมาเลเซีย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  เนการาบรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  และสาธารณรัฐสิงคโปร์ (พ.ศ. 2558)
สวนดุสิตโพลลงนามทางวิชาการว่าด้วยการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ระหว่างสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สวนดุสิตโพล และนิด้าโพล   (พ.ศ. 2559)
            ผู้สื่อข่าวจาก The Irrawaddy  สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เข้าศึกษาดูงานการสำรวจความคิดเห็นด้านบริการวิชาการและด้านธุรกิจวิชาการ (พ.ศ. 2559)
สวนดุสิตโพลทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการร่วมกับสำนักงานวิจัยและพัฒนาเพื่อการแปรรูปงานวิจัยสุขภาพสู่การปฏิบัติ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2559)   
            สวนดุสิตโพลดำเนินการผลิตรายการ “คุยกับโพล” เป็นความร่วมมือระหว่าง สวนดุสิตโพล กับ Suan Dusit Internet Broadcasting (SDIB) ผ่านสื่อต่าง ๆ (พ.ศ. 2559)
            สวนดุสิตโพลผลิตน้ำดื่มตราสวนดุสิตโพล (พ.ศ. 2559)

พ.ศ. 2560

            สวนดุสิตโพล มีข้อบังคับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ว่าด้วยการบริหารสวนดุสิตโพล พ.ศ. 2560 ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 โดยให้มีประธานสวนดุสิตโพล เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของสวนดุสิตโพล ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการสวนดุสิตโพล และแต่งตั้ง รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการอํานวยการสวนดุสิตโพล  และได้ปรับโครงสร้างการทำงานสวนดุสิตโพล ให้สอดคล้องกับการดำเนินงาน ประกอบด้วย ฝ่ายสารสนเทศสาธารณะ  ฝ่ายธุรกิจสารสนเทศ ฝ่ายวิเคราะห์และประมวลผล และฝ่ายพัฒนาองค์กร
            สวนดุสิตโพลเข้าหารือ และแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับการทำสำรวจสาธารณมติ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 58 ร่วมกับ Anne Lee Seshadri ตำแหน่ง Cultural and Education Officer Media and Cultural Section และ Minsuh Son ตำแหน่ง Political Specialist  ณ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในโครงการศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2560) 
            สวนดุสิตโพลได้ไปศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้เดินทางไปที่ University of California-Berkeley, Institute for Survey Research, Temple University, Franklin & Marshall College, International Senior Lawyers Project และสังเกตการณ์การเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งในนิวยอร์ก (พ.ศ. 2560)   
            นอกจากนี้ได้จัดทำหนังสือครบรอบ 25 ปี สวนดุสิตโพล เดินหน้าสู่ความยั่งยืน  Suan Dusit Poll 4.0 และหนังสือ “ตึกใหญ่” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่เป็นการรวบรวมเรื่องราวตั้งอดีตจนถึงปัจจุบันของตำหนักพระองค์เจ้าอัพภันตรีประชา (พ.ศ. 2560) 

พ.ศ. 2561  

            สวนดุสิตโพล มีการพัฒนาบุคลากรด้วยการนำการวิจัยแบบ R2R หรือ Routine to Research จึงเป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย และเป็นการสร้างงาน สร้างความรู้สู่งานวิจัย มาต่อยอดการพัฒนาจากการจัดทำ Work Manual เพื่อสร้างแนวทางในการลด ความเสี่ยง และเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการและองค์กร การวิจัยแบบ R2R จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการทำงานวิจัยในงานประจำแล้วนำผลการวิจัยนั้นๆ มาพัฒนางานที่ปฏิบัติอยู่ จะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานว่าจุดไหนหรือกระบวนการทำงานขั้นตอนใดที่ควรปรับปรุงแก้ไข และก่อให้เกิดองค์ความรู้ส่งผลดีทั้งต่อกระบวนการปฏิบัติงานของตนเองและการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
            สวนดุสิตโพลได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสารระหว่างประชาชนกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อการได้มาซึ่งข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่และอำนาจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยคณะกรรมการวิจัยและพัฒนาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
            สวนดุสิตโพลได้มีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลภาคสนามในการสำรวจความพึงพอใจของโครงการสืบสานศาสตร์ศิลป์ส่งเสริมสยาม สู่ความยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี และโครงการเมืองนวัตกรรมอาหารเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Food Tourism Innopolis) ที่ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง
            นอกจากนี้ได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และประมวลผลในโครงการสำรวจข้อมูลและศึกษาเพื่อจัดทำเรื่องเล่า ผ่าน 5 ภูมิวัฒนธรรมและค้นหาอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเสน่ห์ทางการท่องเที่ยวที่ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง

พ.ศ. 2562

            เปิดร้าน Poll café : ชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย ดูแลและดำเนินการโดยสวนดุสิตโพล เริ่มเปิดทำการในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ในพื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่การเรียนรู้ เป็นหนึ่งในแนวโน้มที่สำคัญของการใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู่ของนักศึกษา การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ภายใน สถาบันอุดมศึกษาสามารถลดการออกกลางคันของนักศึกษา และการสร้างสภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในการลงทุนที่เป็นสินทรัพย์ราคาแพง (expensive assets) แต่มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องดำเนินการและฐานข้อมูลในรูปแบบ “พุทธสารสนเทศ” (พุทธคุณ+พุทธศิลป์+พุทธพาณิชย์) พระเครื่องกับคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาเป็นของคู่กันมานานซึ่งเป็นทั้งการเคารพบูชา กราบไหว้ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจในปัจจุบันเป็นยุคไทยแลนด์ 4.0 พระเครื่องก็ได้มีการพัฒนาออกมาในลักษณะพุทธพาณิชย์ และกลายเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วโดยข้อมูลเกี่ยวกับพระเครื่องเป็นประเด็นที่ควรศึกษา เพราะมีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ทั้งด้านความศรัทธาและด้านธุรกิจ
            บุคลากรขึ้นทะเบียน ที่ปรึกษาไทย 2562 จำนวน 7 คน จากทั้งหมดของมหาวิทยาลัย 26 คนและรออนุมัติอีก 4 คน

พ.ศ. 2563 – พ.ศ 2564

            การดำเนินงานช่วงสถานการณ์โควิด-19 การเก็บข้อมูลในรูปแบบของแบบสอบถามออนไลน์ ช่องทางการกระจายแบบสอบถามผ่านทางเว็บไซต์  Instagram Facebook และ Twitter
            การดำเนินงานโพลมิติใหม่ สร้างแนวทางใหม่การนำเสนอผลการสำรวจสนเทศสาธารณะของแต่ละสัปดาห์ โดยเพิ่มการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนักวิจัยสวนดุสิตโพล และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และนำเสนอผ่านรายการ POLL talk ทาง You Tube Channel : SuanDusitPoll

พ.ศ. 2565 – พ.ศ 2566

ต่อเนื่องจากความสำเร็จของรายการ Poll talk ทาง You Tube Channel : SuanDusitPoll ทำให้เกิดรายการใหม่ ในชื่อ Poll Talk Exclusiveจาะลึก ถึงสาเหตุด้วยการทำ Focus Group เชื่อมโยงสู่ผลกระทบสูง (High Impact) แล้วนำไปออกแบบการสำรวจ สกัดองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำไป พัฒนา และเผยแพร่บนฐาน วิชาการ สร้างมูลค่าเพิ่ม สู่การขยายผล
30 ปี สวนดุสิตโพล Redirection for Renewel ร่วมเดินทางไปกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หน่วยงานที่เริ่มต้นจากการทำงานภาคสนามของนักศึกษา…สู่สำนักโพลที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของเมืองไทย
การเลือกตั้งใหญ่ 2566 สวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งรวม 337,860 ตัวอย่าง ด้วยการทำงานเชิงเครือข่ายทั้งประเทศ ถอดบทเรียน “ผลโพล Vs ผลจริง” ร่วมกับนักวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้จากการทำโพลเลือกตั้ง

พ.ศ. 2567

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจาก  รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน เป็น ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ  และในส่วนของสวนดุสิตโพลได้มีการปรับเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งประธานสวนดุสิตโพลจาก นายณัฐพล แย้มฉิม เป็น นางสาวพรพรรณ บัวทอง และแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการดุสิตโพล รวมไปถึงการปรับโครงสร้างการทำงานของสวนดุสิตโพล เพื่อให้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วทันต่อสถานการณ์  
เพื่อเพิ่มความท้าทายในดำเนินงาน สวนดุสิตโพลได้ดำเนินการเผยแพร่ผลการสำรวจ ดัชนีการเมืองไทย ในรูปแบบใหม่ผ่านรายการ “Poll Talk Live  ดัชนีการเมืองไทย” โดยร่วมกับนักวิชาการจากโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อเผยแพร่วิเคราะห์และสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้แนวคิด OWL (One World Library) รายการ “Poll Talk Live  ดัชนีการเมืองไทย” เป็นวิธีการนำเสนอผลการสำรวจแบบถ่ายทอดสด บน You Tube Channel : SuanDusitPoll และ Facebook : SuanDusitPoll