ย้อนอดีต…มองการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีผู้สมัครลงแข่งขันกันมากกว่าครั้งละ 10 คน จากพรรคการเมืองและผู้สมัครอิสระ และส่วนใหญ่ผู้ชนะก็จะสังกัดพรรคการเมือง จากการเลือกตั้งผู้ฯกทม. ทั้ง 10 ครั้งที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งทั้งหมด 5 ครั้ง พรรคพลังธรรมกับกลุ่มรวมพลัง 3 ครั้ง พรรคประชากรไทย 1 ครั้ง และผู้สมัครอิสระ 1 ครั้ง

webadmin

06/05/2022

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจและไม่พึงพอใจ

ความพึงพอใจ (Satisfaction) หมายถึง ทัศนคติที่เป็นนามธรรม เกี่ยวกับจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่สามารถ มองเห็นรูปร่างได้ นอกจากนี้ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกด้านบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจจะเกิดขึ้น จากความคาดหวัง หรือเกิดขึ่น ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นสามารถตอบสนองความต้องการให้แก่บุคคลได้ ซึ่งความพึงพอใจ ที่เกิดขึ้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามค่านิยมและประสบการณ์ของตัวบุคคล

webadmin

05/11/2021

แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจความต้องการและความคาดหวัง

การประเมินความต้องการจำเป็นมีประโยชน์อย่างมากในการทำให้การวางแผนมีทิศทาง เป็นไปได้และมีโอกาสเกิดสัมฤทธิผลตามที่มุ่งหวัง นอกจากนี้ ยังเป็นข้อมูลที่ใช้เป็นหลักเทียบความสาเร็จของการดำเนินงานทำให้สามารถวางแผนการปฏิบัติภายใต้ทางเลือกที่เหมาะสม

webadmin

02/10/2021

แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมและความผูกพัน (Engagement)

Engagement หมายถึง การมีส่วนร่วมและความผูกพัน ซึ่งจากเดิมที่จะมองในมิติขององค์กร มิติของลูกค้า  มิติของบุคลากรภายในองค์กร ปัจจุบันมีการขยายออกไปทั้งในหลากหลายมิติ เช่น การมีส่วนร่วมและความผูกพันของพลเมือง

webadmin

25/09/2021

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเชิงสำรวจ และการทำโพล

การสำรวจความคิดเห็น หรือสาธารณชนมติ (Public opinion) ในเรื่องเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยทำการสุ่มสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งหมด หรือบางส่วน เรียกว่าโพลความคิดเห็น (Opinion poll) หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า โพล (Poll) การทำโพล อาจเป็นการสำรวจความคิดเห็น ความเชื่อ เจตคติ หรือพฤติกรรมทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ หรือการเมืองของสาธารณชน การที่จะได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความคิดเห็น หรือท่าทีทั่วไปของสาธารณชนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถูกต้อง

webadmin

14/09/2021

การเก็บข้อมูลด้วยระบบออนไลน์

สวนดุสิตโพล ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้ Google Form และ Microsoft 365 form แทนการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การลงพื้นที่ภาคสนาม

webadmin

27/10/2020

หลัง…เลือกตั้ง2562

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 มีหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจตามมาหลังจากการปิดหีบเลือกตั้ง และการนับคะแนนของผู้มาใช้สิทธิ หากศึกษา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 จะมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย

webadmin

08/04/2019

เลือกตั้งสหรัฐอเมริกา 2559

คุณสมบัติของผู้สมัครประธานาธิบดี  รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า ต้องอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับสัญชาติอเมริกันโดยกำเนิด อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกามาไม่น้อยกว่า 14 ปี ไม่เคยเป็นประธานาธิบดีมาแล้ว 2 สมัย ขั้นตอนการหยั่งเสียง ปัจจุบันมี 3 วิธี คือ 1.อาจได้จากวิธีการแบบ primary ซึ่งหมายถึง การจัดการเลือกตั้งขั้นต้นขึ้นในมลรัฐ 2.แบบ caucus คือ การประชุมกลุ่มย่อยของสมาชิกพรรคในแต่ละระดับ ตั้งแต่หน่วยเล็กสุดขึ้นมา เพื่อเสนอความคิดเห็น 3.แบบ state-covention ที่หมายถึง การประชุมใหญ่ของพรรคในระดับมลรัฐ เพื่อคัดเลือกผู้ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดเป็นตัวแทนพรรค จาก 1 ใน 3 วิธีข้างต้น จะทำให้ได้ผู้แทน หรือที่เรียกว่า delegates จำนวนหนึ่ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค (National Convention) ให้เหลือตัวแทนพรรคเพียงคนเดียว ถ้าสามารถเลือกผู้แข่งขันได้ในครั้งแรกของการประชุมพรรค จะเรียกว่า first ballot victory การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง  ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ “วันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายนของปีที่มีการเลือกตั้ง” (ไม่ใช่อังคารแรกหรืออังคารที่ 1 […]

webadmin

29/07/2016

ประเภทของโพล

ประเภทของโพล Benchmark Survey เมื่อผู้สมัครได้ตัดสินใจที่จะสมัครแล้ว การทำโพลแบบนี้ ต้องการเพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาพลักษณ์ทั่ว ๆ ไปของ ผู้สมัคร ลักษณะทางประชากรของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง คะแนน เสียงเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ความเห็นของประชากรต่อผลงานของผู้ ที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับประเมินความ ก้าวหน้าของการรณรงค์หาเสียง Tracking Polls เป็นการจัดทำโพลชนิดวันต่อวันเมื่อใกล้ๆ วันเลือกตั้ง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และปรับกลยุทธ์ในการหาเสียง เช่นเลือกตัวอย่างมาวันละ 100 คน ติดต่อกัน 4 วัน ถึงแม้จำนวน จะน้อยแต่ก็ยังดีกว่าเลือกตัวอย่างมา 400 คนในวันเดียวกัน และใน วันที่ 5 อาจจัดทำโพลอีก 100 คนโดย 100 คนแรกที่จัดเก็บมาในวัน แรกก็จะถูกตัดออกไป ทำให้สามารถติดตามปฏิกริยาของผู้ลงคะแนน เสียงได้อย่างใกล้ชิด ได้ข้อมูลข่าวสารที่ทันกับเวลา Trial Heat Survey ในทางเทคนิค THS ไม่ใช่การสำรวจในตัวของมันเอง แต่เป็นชุดของคำถามในการทำโพล เช่น คำถาม “จะเลือกใครในบรรดา ผู้สมัคร” […]

webadmin

11/07/2016