คู่มือปฏิบัตงานการจัดการความรู้ (KM)
แผนการจัดการความรู้ “แนวทางการผลักดันให้บุคลากรสามารถจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน” เป็นการนำหลักการของการจัดการความรู้ (KM) มาประยุกต์ใช้ในการรวบรวมความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) โดยกระบวนการถ่ายทอดผ่านการพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ การฝึกอบรม การลงมือปฏิบัติ รวมถึงระบบพี่เลี้ยง มากลั่นกรองความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคลากรให้เกิดเป็นองค์ความรู้ที่ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge) ในรูปแบบ “คู่มือการปฏิบัติงาน” ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำคู่มือดังกล่าวนั้น นอกจากจะเป็นการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ พัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในแต่ละกระบวนการที่รับผิดชอบของบุคลากรแล้วยังเป็นการจัดทำฐานองค์ความรู้ขององค์กรซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานแนวทางการดำเนินการต่อไปในอนาคต
ในการผลักดันให้บุคลากรสามารถจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม ต้องอาศัยกระบวนการต่างๆ ซึ่งจากการสังเคราะห์กระบวนการผลัดดันดังกล่าว ทำให้พบ “ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ” ประกอบด้วย
1) ผู้บริหารมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการจัดทำคู่มืออย่างจริงจัง
2) การผลักดันและให้ความรู้ในการจัดทำคู่มือ โดยการฝึกอบรมในรูปแบบของการ Work shop โดยมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 4 ครั้ง
3) การใช้ระบบพี่เลี้ยงเข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำ เช่น การจัดหาวิทยากรภายนอก หรือผลักดันให้ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการจัดทำเป็นพี่เลี้ยงหรือวิทยากรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้กลยุทธ์สำคัญ คือ
3.1 ระบบการติดตามและประเมินผลการจัดทำที่เป็นรูปธรรม
3.2 นำผลงานนี้ไปใช้ในการประเมินสมรรถนะบุคลากร